วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

นิราศนริทร์คำโคลง
                 เป็นนิราศที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์  มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การกล่าวคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก  ด้วยสำนวนโวหารอันไพเราะและมีคุณค่าในด้านวรรณศิลป์  นิราศนริทร์จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของนิราศคำโคลง
ผู้แต่ง   นรินทรธิเบศร์ (อิน)
ลักษณะคำประพันธ์    ร่ายสุภาพ  จำนวน 1 บท  และโคลงสี่สุภาพ  143 บท
จุดมุ่งหมายในการแต่ง    คร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก
ความเป็นมา   นิราศ  เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ  อ่านเพิ่มเติม
นิทานเวตาล เรื่องที่ 10
ความเป็นมา
                นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ

                  ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461  อ่านเพิ่มเติม
อิเหนา  ตอน  ศึกกะหมังกุหนิง

     อิเหนา  เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  เป็นบทละครที่วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดของบทละครรำ  เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีพร้อมทั้งเนื้อหา  ทั้งความไพเราะ  ทั้งกระบวนที่จะเล่นละครประกอบกัน  และยังเป็นหนังสือดีในทางที่จะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ตรงตามตำราทุกอย่าง  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าเรื่องมาจากนิทานพื้นเมืองชวา  แต่ทรงดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับธรรมเนียมของบ้านเมือง  อัธยาศัยและรสนิยมของคนไทย  อ่านเพิ่มเติม
การวิจักษ์วรรณคดี
       คือการเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งจนตระหนักในคุณค่าของวรรณคดีเรื่องหนึ่งๆ ว่าเป็นงานศิลปะที่ถึงพร้อมเพียงใด  มีข้อดีเด่นอย่างไร มีข้อด้อยอย่างไร  มีข้อคิดที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงเพียงใด เป็นต้น ความตระหนักดังกล่าวย่อมนำไปสู่ความซาบซึ้งในคุณค่าทำให้เกิดความหวงแหน อยากจะรักษาไว้ให้ดำรงเป็นสมบัติของชาติต่อไปส่วนการวิจารณ์วรรณคดี ซึ่งมีอยู่หลายระดับ  อ่านเพิ่มเติม
นมัสการมาตาปิตุคุณ
ผู้แต่ง    พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
จุดประสงค์  เพื่อสรรเสริญพระคุณของบิดามารดา
นมัสการมาตาปิตุคุณ
                     "ข้าขอนบชนกคุณ                    ชนนีเป็นเค้ามูล
               ผู้กอบนุกูลพูน                              ผดุงจวบเจริญวัย
                       ฟูมฟักทะนุถนอม                      บ บำราศนิราไกล
               แสนยากเท่าไรไร                          บ คิดยากลำบากกาย
                       ตรากทนระคนทุกข์                    ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย
               ปกป้องซึ่งอันตราย                         จนได้รอดเป็นกายา
                       เปรียบหนักชนกคุณ                   ชนนีคือภูผา
               ใหญ่พื้นพสุนธรา                             ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
                       เหลือที่จะแทนทด                     จะสนองคุณานันต์
                แท้บูชไนยอัน                               อุดมเลิศประเสริฐคุณ"

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง  อ่านเพิ่มเติม